GameFi

แนะนำภาพรวมของเกม Outland Odyssey

เกม Play-to-Earn ในรูปแบบ ARPG ที่ให้กลิ่นอาย Monster Hunter, Diablo และ Pokémon

จุดเริ่มต้นของความทะเยอทะยานจาก Project SEED

ในปัจจุบันที่มีเกมซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบ NFT และ Play-to-Earn มาเกี่ยวข้องเปิดตัวออกมามากมาย บางเกมอาจจะดูไม่เหมือนกับว่าเป็นเกมเท่าไหร่นัก แต่สำหรับเกมที่เราจะมาพูดถึงในครั้งนี้ดูจะเป็นเกมที่พูดว่าเป็นเกมได้ไม่ต้องอายมากนักอย่าง Outland Odyssey เกมแรกจากทาง Project SEED ที่รันบนเชน Solana ซึ่งดูจะมีความทะเยอทะยานอย่างมาก ใครที่สนใจเกมแนว APRG เรามาดูรายละเอียดไปพร้อม ๆ กันเลย

image 124

ภาพรวมของเกม

Outland Odyssey เป็นเกมที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยที่จะจัดอยู่ในหมวดหมู่ของเกมแนว action RPG ที่จะมอบอิสระให้กับผู้เล่นได้ออกสำรวจและเอาชีวิตรอดในโลกของ metaverse ภายในเกมเราสามารถที่จะล่ามอนเตอร์ จับ และฝึกฝนสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่ถูกเรียกว่า Zeds ได้ แน่นอนว่าด้วยความที่เป็นเกมแนว RPG ภารกิจหรืออย่างน้อยก็เป้าหมายท้ายที่สุดที่เนื้อเรื่องได้เล่าเอาไว้คือการช่วยโลกใบนี้ (ภายในเกม) เอาไว้

image 125

แนวความคิดของเกม

แรงบันดาลใจของตัวเกมได้รับอิทธิพลมาจากเกมอย่าง Monster Hunter, Diablo และ Pokémon จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่ภายในเกมเราอาจจะได้เห็นระบบต่าง ๆ ที่ดูจะเห็นได้ภายในเกมที่กล่าวมา ฉะนั้นภายในเกมเราจะได้วนทำสิ่งเดิม ๆ ไปมาอันเป็นเหมือนกับจุดที่เกมแนว ARPG มอบให้เราในช่วงที่ผ่านมา

image 126

รูปแบบการเล่น

ภายในเกม Outland Odyssey จะมอบประสบการณ์การต่อสู้ที่มีความรวดเร็วในตัว ผู้เล่นสามารถที่จะหลบและโจมตีไปพร้อม ๆ กันได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างการต่อสู้ต้องมีการเล็งตำแหน่งที่ต้องการจะโจมตีไปในทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมการโจมตีแบบปกติและแบบพิเศษให้เลือกใช้งาน นอกจากตัวละครของเราแล้ว ยังมีพวก Zeds ที่เราจับมาได้ร่วมในการต่อสู้อีกด้วย นอกจากระบบการต่อสู้ยังมีระบบสำรวจและการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา จากสิ่งที่เราไปพบหรือได้มาจากการเอาชนะ Zeds 

image 127

Heroes

ผู้เล่นแต่ละคนจะถูกเรียกว่า Heroes โดยที่เราสามารถที่จะเลือกได้ในตอนเริ่มของการเล่นเกม ซึ่งจะมีการแยกย่อยตามคลาสไปอีกไม่ว่าจะเป็น Warrior, Hunter และ Technomancer เราสามารถที่จะปรับแต่งสกินของตัวเองและชุดเกราะได้อย่างอิสระ ทุกตัวละครจะมีความสามารถแตกต่างกันไป

image 128

Zeds

เรียกว่าเป็นส่วนประกอบหลักของตัวเกมก็ว่าได้ เพราะหากพูดถึงเกม ARPG สิ่งที่เราต้องเผชิญหน้าตลอดการเล่นนั่นก็คือมอนเตอร์ที่จะทำให้การผจญภัยสนุกยิ่งขึ้น ภายในเกม Zeds แต่ละแบบจะมีความสามารถและการดรอปของที่แต่ต่างกันไป ซึ่งบางอย่างหากเราจะทำการสร้างอาวุธหรือชุดเกราะก็จับเป็นที่จะต้องหา Zeds ที่ตรงตามที่กำหนด รวมไปถึงยังต้องหาตัวที่เหมาะสมสำหรับการจับมาเป็นคู่หูร่วมการต่อสู้ของเราด้วย

image 129

Weapon & Armor

ผู้เล่นสามารถที่จะสร้างอาวุธและชุดเกราะขึ้นมาได้จากการเอาชนะ Zeds ภายในเกม ซึ่งส่วนประกอบที่เราได้จากการล่า Zeds จะสะท้อนให้เราได้เห็นถึงความสามารถที่เราจะได้จากอาวุธและชุดเกราะที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มสถานะและการเล่นให้กับผู้เล่นง่ายกว่าเดิม

image 130

ระบบปล่อยเช่า NFT

ด้วยความที่ภายในเกมเราจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำมาสร้างเป็นอาวุธหรือชุดเกราะ ทำให้ต้องมีการใช้ระยะเวลาพอสมควร ภายในเกมจะให้ผู้ที่เป็นเจ้าของไอเทมสุดหายากที่ไม่ใช่ใครก็สามารถหามาได้ สามารถที่จะปล่อยเช่าไอเทมดังกล่าวภายในตลาด เพื่อที่จะทำรายได้จากมันได้ แน่นอนว่าระบบการเช่าจะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับผู้ปล่อยเช่า ส่วนผู้ที่เช่าไปก็จะได้ลองไปในตัว

ระบบสร้างดันเจี้ยน

เรียกว่าเป็นความต่างจากเกมอื่น ๆ ที่ภายใน Outland Odyssey จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ทำการ Stake เหรียญ SHILL สามารถที่จะสร้างดันเจี้ยนขึ้นมาได้ และแน่นอนว่าเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วเราสามารถที่จะสร้างรายได้จากผู้ที่เข้ามาสู่พื้นที่ของเราได้ไปในตัว

ระบบการสร้าง NFT ภายในเกม

ผู้เล่นสามารถที่จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า in-game assets หรือในที่นี้เราจะมองว่าเป็น NFT ได้ จะเปิดแบรนด์เป็นของตัวเองภายในเกมและสร้างรายได้จากการขายไปในตลาดได้

Marketplace

สำหรับแผนที่ทาง Project SEED วางเอาไว้สำหรับทุก ๆ เกมที่พวกเขาจะพัฒนาขึ้นมาจะมีการเปิดให้ใช้งานตลาดทั้งสองส่วนคือภายในเกมและผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้กับทั้งคนที่อาจจะอยู่ภายในเกมตลอดเวลาจะได้ไม่ต้องสลับมาที่หน้าเว็บ ในทางกลับกันก็ช่วยให้ผู้ที่ทำการลงทุนไม่ต้องเข้าไปภายในเกมได้เช่นกัน

image 131

SHILL Token

ในตอนนี้เหรียญที่จะมีการใช้งานเป็นเหรียญหลักเกมภายใต้ Project SEED จะถูกเรียกว่า SHILL โดยที่จำนวนเหรียญทั้งหมดจะถูกจำกัดเอาไว้ที่ 1 พันล้านเหรียญ แต่จะแบ่งเป็นส่วนที่ได้จากการเล่น 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะแบ่งแยกย่อยกันไปหลากหลายช่องทางไม่น้อย อย่างไรก็ตามในแต่ละเกมจะมีการแยกย่อยเหรียญของตัวเองกันไป

image 132

O2 Token

นอกเหนือจาก SHILL ที่เป็นเหรียญหลักแล้วยังมี O2 ที่จะเป็นเหรียญซึ่งถูกใช้งานภายในเกม Outland Odyssey โดยจะถูกนำไปใช้งานในการทำสิ่งต่าง ๆ ภายในเกมอย่างเช่นการสร้างไอเทม การสร้างดันเจี้ยน การอัปเกรด ซึ่งจำนวนเหรียญของ O2 จะไม่มีการกำหนดเอาไว้ แต่จะมีการใช้งานระบบเผาเหรียญ ส่วนการได้มาจะได้มาจากการ Stake SHILL ได้รับรางวัลภายในเกม และรางวัลจากคอมมูนิตี้

image 133

SEEDex

ตัวกลางของแพลตฟอร์มที่จะช่วยทำให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายภายใต้เกมที่อยู่ใน Project SEED สามารถทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เราสามารถที่จะทำการนำ SHILL ไปทำการ Liquidity เป็น SHILL-SOL, SHILL-BNB, SHILL-USDC, SHILL-BUSD และอื่น ๆ ได้ พร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ถูก

image 134

แผนในอนาคต

สำหรับในตอนนี้แผนการของเกม Outland Odyssey จะมีไปจนถึงช่วงปลายปี 2022 ซึ่งหากทุกอย่างไม่ถูกเลื่อนออกไปถือว่าเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างเร็วไม่น้อย ซึ่งในตอนนี้ตัวแผนงานจะถูกแบ่งออกเป็น 7 ช่วงด้วยกัน ณ เวลานี้น่าจะอยู่ในระหว่างช่วงที่ 2 – 3 

นี่คือภาพรวมของเกม Outland Odyssey ที่อยู่ภายใต้ความทะเยอทะยานที่ดูจะมีเป้าหมายไม่น้อยจากทาง Project SEED อนาคตของเกมจะเป็นอย่างไร และจะมีเกมอื่น ๆ ออกมาให้เราได้เล่นกันหรือไม่ ก็คงต้องให้ผู้เล่นที่สนใจเป็นคนกำหนดทิศทางของตัวเกม หากกระแสตอบรับออกมาดีก็น่าจะได้เห็นเกมที่น่าสนใจออกมาในอนาคต แต่อย่าลืมว่าแม้ทีมพัฒนาจะมีประสบการณ์มามากน้อยเพียงใด มีการทำงานกับบริษัทกับเกมที่มีชื่อเสียง การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอใครที่จะลงทุนก็ควรที่จะศึกษาให้ดีก่อน ในระยะแรกคุณอาจจะได้แต่ผ่านไปสักระยะหากถอนตัวไม่ทันอาจจะพบกับสิ่งที่ไม่คาดฝันได้เช่นกัน

เว็บไซต์ : https://projectseed.io/

ที่มา
Project SEED

Artherlus

แค่คนทั่วไปที่หลงใหลในวงการไอที
Back to top button