สกู๊ปพิเศษ

6 สิ่งที่ทำให้เราหลอนว่าเกมนี้ Woke หรือเปล่า

เกม Woke เยอะ แต่ไม่ใช่ทุกเกมที่จะ Woke เราหลอนไปเองหรือเปล่า

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวเกมเมอร์ทุกท่าน ช่วงนี้เรามักจะเห็นข่าวเกี่ยวกับเกมที่ออกมาสนับสนุนในเรื่องของความหลากหลายอยู่หลายเกมเลย แล้วหลัง ๆ มามันก็เริ่มที่จะเยอะขึ้นทุกวัน จนล้ำเข้ามาในการฝืนเนื้อเรื่อง หรือทำให้เกมเพลย์ที่ควรจะสนุกกลายเป็นไม่สนุกไปซะอย่างนั้น และผู้เล่นอย่างเราก็จะเรียกเกมเหล่านี้แบบง่าย ๆ ว่าเกม Woke แต่ก็มีเกมจำนวนไม่น้อยเลยเหมือนกันที่ใส่ความหลากหลายลงไปในเกมอย่างพอดี แต่ผู้เล่นอย่างเรากลับรู้สึกว่า เอ๊ะ…เกมนี้เข้าข่าย Woke หรือเปล่านะ พอดีหรือเปล่านะ ทำเกมเพลย์หรือเนื้อเรื่องเสียหรือเปล่านะ บางเกมเห็นแค่รูปก็ถอยหลังออกห่างไปแล้วก้าวนึง เพราะเกมกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวหาจุดพอดีว่าควรนำเสนอความหลากหลายมากแค่ไหน และผู้เล่นเองก็กำลังปรับตัวในการเลือกเล่นเกมเช่นกันครับ เราไปชมกันดีกว่าว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เราหลอนว่า Woke หรือเปล่า

1. มีตัวละครผิวสี หลายเชื้อชาติ หลายเผ่าพันธุ์

01 6


สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เล่นอย่างเราหลอนตั้งแต่แรกเห็นเลยก็คือการที่หน้าปกเกมหรือวิดีโอตัวอย่าง นำเสนอแต่ตัวละครที่เป็นคนผิวสีครับ เกมเมอร์อย่างเราเข้าใจดีว่าโลกใบนี้มีกลุ่มคนที่หลากหลาย แต่ถ้าหน้าปกเกมหรือวิดีโอตัวอย่างมันเน้นตัวละครผิวสีแบบนี้มา ผู้เล่นอย่างเราก็อาจหลอนได้ว่าเกมนี้ Woke หรือเปล่านะ หรือถ้าเกมไหนมาแนวเผ่าพันธุ์แปลก ๆ เช่น Humanoid หรือมนุษย์ต่างดาวโผล่มาเยอะ ๆ โดยที่ธีมของมันไม่ใช่แนวแฟนตาซีหรืออวกาศ อันนี้ผู้เล่นก็จะเริ่มตั้งการ์ดแล้วครับว่าสิ่งที่ถูกเพิ่มเข้ามานี้คือเนื้อหาของเกมจริง ๆ หรือเป็นเพียงเกมการเมืองที่ผู้สร้างพยายามใส่นโยบายลงไปเท่านั้น

2. มีตัวละครหลักที่ไม่ใช่ Beauty Standard

02 6


เราต่างรู้กันดีครับว่าโลกใบนี้มีคนที่ไม่หล่อและไม่สวยอยู่บนโลก แต่การที่ตัวละครหลักไม่ใช่ Beauty Standard นั้นก็อาจจะทำให้เรารู้สึกกังวลไปก่อนว่าเกมนี้มีแนวคิดแบบ Woke หรือเปล่า เพราะเราคุ้นเคยกับการที่ตัวละครหลักในเกมส่วนใหญ่จะเป็นแนวหล่อสวยเก่งเท่อยู่ตลอด เนื่องจากว่าผู้พัฒนายุคเก่า ๆ นั้นรู้ดีว่าผู้เล่นเองก็ต้องการเป็นบุคคลในอุดมคติของตัวเอง ถ้าสร้างตัวละครก็อยากจะดูดี หรือถ้ามีตัวละครให้เลือกเล่นก็ควรจะเป็นคนในฝันของพวกเขา แต่หลัง ๆ มาเกมที่ Woke นั้นก็ทำให้ตัวละครหลักในเกมมีแต่ตัวละครที่ต้องไม่สวย ต้องไม่หล่อ บางเกมถึงกับดึงโครงหน้าของโมเดลตัวละครให้ผิดแปลกจากนักแสดงเลยก็มี มันก็เลยทำให้เราหลอนไปก่อนหลังจากเห็นภาพตัวอย่างของเกมที่มีตัวละครเด่นสุดไม่ใช่ Beauty Standard ครับ

3. มีตัวละครไว้ทรงผมเดทร็อค หรือสีผมแปลก ๆ

03 7


ตั้งแต่เมื่อไหร่กันก็ไม่รู้ที่ตัวละครที่ไว้ทรงผมเดทร็อคกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของตัวละครฝั่ง Woke เพราะมันเป็นทรงผมที่มักจะมาคู่กับคนผิวสีหรือชนเผ่าต่าง ๆ ที่กลุ่ม Woke พยายามจะยัดเยียดเข้ามาในเกม แต่เอาจริง ๆ ทรงผมเดทร็อคนั้นก็มีมาตั้งนานแล้ว และเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคนด้วย เพียงแต่ว่าช่วงนี้เราเห็นทรงผมนี้ในบริบทของการแสดงความหลากหลายมากจนเกินไป ทำให้ผู้เล่นเห็นปุ๊บก็รู้สึกหลอนปั๊บว่าเกมนี้ Woke หรือเปล่า นอกจากนี้ยังมีสีผมแปลก ๆ ที่ผิดไปจากสายตา แน่นอนว่าถ้าเกมนี้เป็นสไตล์อนิเมะก็คงจะเข้าใจได้เพราะเป็นอาร์ตสไตล์แบบนั้น แต่ถ้าเกิดว่าเกมนั้นเป็น 3D สมจริง อลังการ แล้วตัวละครผิวสีย้อมผมสีแดงหรือสีม่วง อันนี้ต้องบอกว่าผิดธรรมชาติอย่างมาก จนทำให้ผู้เล่นรู้สึกกังวลได้

4. ตัวละครมีโทนสีที่ฉูดฉาด

04 7


ตัวละครภายในเกมก็ล้วนมีการแต่งตัวตามสไตล์ที่แตกต่างและหลากหลาย แต่ที่เราชินตากันส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเสื้อผ้าที่เข้าธีมหรือไม่ก็เข้ากับบุคลิกเฉพาะตัวของคนนั้น ๆ และส่วนใหญ่สีของเสื้อผ้าหน้าผมมักจะไปในโทนเดียวกัน ถ้ามีสีที่โดดเด่นสักสีก็มักจะมีสีอื่นเป็นสีรอง และทำให้ภาพรวมของตัวละครนั้นโดดเด่นขึ้นมาจากการออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ แต่หลัง ๆ มาเกมที่มีตัวละครสาย Woke มักจะแสดงออกในด้านของความหลากหลายและนิยมเลือกใช้สีสันที่ฉูดฉาด สีผิวเด่น สีผมเด่น สีชุดเด่น ทุกอย่างเด่นไปหมดจนดูแสบตาและไม่บาลานซ์ต่อสายตาผู้เล่นเท่าไหร่นัก มันทำให้เวลาที่เราเห็นตัวละครแต่งตัวแรง ๆ สีสันฉูดฉานเราอาจจะคิดไปก่อนว่าตัวละครนี้เป็น LGBTQ+ หรือเป็นเกมเน้น Woke หรือเปล่านั่นเองครับ

5. นำเสนออีกมุมของประวัติศาสตร์

05 6


เกมในปัจจุบันมีไม่น้อยเลยที่อ้างอิงข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์หรือสร้างขึ้นมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นบนโลก หลายเกมก็นำเสนอในส่วนที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง และก็มีหลายเกมเหมือนกันที่พยายามขีดเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งสิ่งที่ผู้เล่นอย่างเรา ๆ ไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่นักคือการที่ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือนไปจากความเป็นจริง แต่งสีตีไข่จนบิดเบือนไปจากข้อมูลเดิม มันเลยทำให้เกมหลายเกมถูกมองว่า Woke ถ้าเกิดว่ามีเกมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือช่วงเวลายุคเก่าของโลกโผล่มาให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมที่ไม่ค่อยแมสในกลุ่มผู้เล่นเท่าไหร่ เช่น ในยุคญี่ปุ่นโบราณที่มีสงครามกันเกิดขึ้น เรารู้กันดีว่ามีซามูไรผู้ชายจำนวนมากถือดาบคาตานะคอยต่อสู้รวบรวมดินแดน แต่อาจจะไม่คุ้นชินกับการเห็นซามูไรผู้หญิง เลยอาจจะคิดไปก่อนไข้ว่าการมีซามูไรผู้หญิงนั้นคือเกม Woke นั่นเอง

6. สังคมที่มีความหลากหลายในเกม

06 3


เกมเมอร์อย่างเราเข้าใจดีว่าความหลากมีอยู่บนโลก สังคมไม่ได้มีแค่ 2 เพศ เชื้อชาติเดียวหรือเผ่าพันธุ์เดียว แต่สิ่งที่เราเข้าใจมาตลอดคือเกมมักจะมีตัวละครหลักเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่เหมือนกันและมีคนที่แตกต่างอยู่ในกลุ่มเพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้น เช่น ใน 1 ปาร์ตี้ถ้ามีคนอยู่ 5 คน เราก็มักจะพบภาพจำที่คุ้นเคยคือมีผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก คนแก่ และอาจจะแทรก Humanoid เข้าไปบ้างถ้าเกิดว่าเกมนั้นมีธีมเป็นแฟนตาซี แต่ผู้เล่นอย่างเราจะตั้งการ์ดขึ้นมาทันทีถ้าเกิดว่า 5 คนนี้เป็น LGBTQ+ คนพิการ คนผิวสี คนอ้วนมาก คนผอมมากมารวมอยู่ในปาร์ตี้เดียวกัน ผู้เล่นไม่ได้เหยียดเรื่องของความหลากหลาย แต่ในแง่ของ Lore และเนื้อเรื่องมันดูยัดเยียดเกินไปหรือเปล่าที่จะทำให้คน 5 แบบที่มีความแตกต่างกันสุดขั้วมารวมกลุ่มเดียวกัน ถ้าหน้าปกเกมเห็นอะไรทำนองนี้ ผู้เล่นจะตั้งการ์ดว่าเป็นเกม Woke หรือเปล่าไว้รอเลยครับ

เป็นยังไงบ้างครับกับ “6 สิ่งที่ทำให้เราหลอนว่าเกมนี้ Woke หรือเปล่า” ตรงกับสิ่งที่ทำให้เพื่อน ๆ หลอนกันบ้างหรือเปล่า อย่างไรก็ตามนะครับ เห็นเกมเมอร์หลายคนก็ไม่ได้มีปัญหากับการ Woke หรือไม่ Woke เพราะว่าถ้าเกมเพลย์มันสนุก ไม่ว่าจะ Woke หรือไม่คนก็เล่นอยู่ดี เว้นแต่ว่าการ Woke นั้นมาทำให้เกมเพลย์หรือเนื้อเรื่องมีความไม่เมคเซนส์และหมดสนุก อันนี้ก็ต้องดูเป็นเกม ๆ ไป และกระแส Anti-Woke ก็ค่อนข้างตีกลับมาเยอะมาก เห็นอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็เริ่มตั้งการ์ดรอแล้ว จนกลายเป็นดราม่าทั้ง 2 ฝ่ายใหญ่โตไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากนี้เรามาเริ่มวิจารณ์เกมกันอย่างมีสติให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ 🙂

ที่มา
ign1ign2cromagamereactorcdnperfectgarbage

Jou Thunder

เร็ว แรง ติดคริ คือคติของผม โปรดติดตามช่อง youtube.com/@JouThunder
Back to top button