ข่าวธุรกิจเกม

ผู้พัฒนากว่า 70% ไม่มั่นใจกับการพัฒนาเกม Live-Service ต่อไปในอนาคต

กลัวผู้เล่นจะหมดความสนใจและเล่นในระยะยาว

ผลการสำรวจใหม่จาก Game Developer Collective ได้แสดงให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับแนวทางการหาเงินจากวิดีโอเกม โดยเฉพาะกับเกมแนว Live-Service

ทางทีมได้ทำแบบสำรวจกับนักพัฒนาเกม 600 คนระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมในปี 2024 และกลุ่มนักพัฒนาเกม 67% และ 53% ได้แสดงความเห็นว่านิยามของเกมประเภท Live-Service คือการมีอัปเดตเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง และการซื้อขายเพิ่มภายในเกม ตามลำดับ

ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 39% มีความกังวลต่อรูปแบบธุรกิจของเกม live-service ในปัจจุบันเล็กน้อย ส่วนอีก 31% นั้น “กังวลอย่างมาก” ในขณะที่ 29% รวมกันไม่มีความกลัวเลยหรือไม่แน่ใจ

Game Developer afraid of live service game 01

ในขณะที่การสำรวจของ Griffin Gaming Partners เมื่อเดือนกุมภาพันธ์เปิดเผยว่านักพัฒนาส่วนใหญ่กำลังสร้างเกมแนว Live-Service กันหมด และน่าสนใจที่เพียง 35% (จากทั้งหมด 600 คน) ของจำนวนที่สำรวจ บอกกับทาง Collective ว่าเกมที่พวกเขาเพิ่งปล่อยออกมาล่าสุดนั้นเป็นเกม Live-Service

และ 10% ที่เหลือคือบรรดานักพัฒนาเกมที่ยังไม่นำเอาโมเดลเกมแบบ Live-Service มาใช้ แต่ก็ยังคิดว่าสตูดิโอของพวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้แนวทางนี้เช่นกัน

อิทธิพลของ Live-Service กับเกมที่จะถูกพัฒนาออกมาในอนาคต

เมื่อพูดถึงเกม Live-Service เหล่านักพัฒนาเกมในปัจจุบันมีความคิดเห็นต่อผลกระทบต่อวงการเกมในเรื่องนี้แตกต่างกัน โดย 44% มีมุมมองผสมปนกัน และอีก 45% มองเรื่องนี้ในแง่ลบ

ข้อกังวลใหญ่สุดจากการสำรวจนี้ตกอยู่ที่ความยั่งยืน โดยนักพัฒนา 63% กลัวว่าผู้เล่นจะหมดความสนใจ (62% กลัวเกมอื่น ๆ จะขโมยแฟนเกมของพวกตนไป) และอีก 57% ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากในการทำให้ผู้เล่นเล่นเกมประเภทนี้ในระยะยาว

เราได้เห็นผลของความกังวลนี้จริงๆ ในปี 2023 ด้วยเกมแนว Live-Service มากมายต้องปิดตัวลง และมักจะพาให้สตูดิโอเกมที่ให้บริการเกมเหล่านั้นปิดตามไปด้วย ส่วนพวกที่ยังรอดอยู่ อย่าง Destiny 2 ในเวลานี้อยู่ในจุดที่ไม่มั่นคงเอาเสียเลย

Game Developer afraid of live service game 02

ค่าใช้จ่ายสำหรับ DLC ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ท่ามกลางกระแสความไม่มั่นคงของเกม Live-Service ดูเหมือนความสนใจจะมุ่งไปยังการพัฒนา DLC แบบซื้อแยกที่จะเพิ่มมากขึ้น กลุ่มผู้เข้าร่วมสำรวจ 30% กล่าวว่าจะใช้แนวทางนี้กับเกมถัดไปของพวกเขา ซึ่งพุ่งขึ้นถึง 9% เมื่อเทียบกับเกมที่ทำล่าสุด

ในทางเดียวกัน 76% บอกว่ากำลังเล็งรูปแบบการจ่ายเงินแบบซื้อเกมขาด (เช่นการวางจำหน่ายแบบดิจิทัล) สำหรับเกมถัดไป อีก 22% บอกว่าอยากวางขายเกมแบบกล่อง (เมื่อเทียบกับ 27% ของจำนวนเกมที่เปิดตัวล่าสุด)

โดยรวมแล้ว เหล่านักพัฒนาเกมมีความเห็นที่แตกต่างในการพัฒนาเกมและเลือกวิธีหารายได้ของเกมในอนาคต ความต่างของแนวโน้มที่เกมในอนาคตจะมี Battle Pass หรือการถูกใส่เข้าไปในบริการจ่ายเงินรายเดือนนั้นมีอยู่เพียงแค่ 1-4 % เท่านั้น

ที่มา
Game Developer
Back to top button